
วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
ท้าวกะหมังกุหนิงกับประไหมสุหรีมีโอรสชื่อ วิหยาสะกำ ในคราวที่วิหยาสะกำออกประพาสป่า องค์ปะตาระกาหลาได้แปลงร่างเป็นกวางทองเพื่อล่อวิหยาสะกำมายังต้นไทรที่พระองค์ซ่อนรูปวาดบุษบาไว้ เมื่อวิหยาสะกำเห็นรูปวาดของบุษบาก็หลงรักนางจนคลั่ง ท้าวกะหมังกุหนิงสืบทราบว่านางคือบุษบา ธิดาท้าวดาหาที่ตอนนี้เป็นคู่หมั้นของจรกาแล้ว แต่ด้วยความรักและสงสารลูกจึงส่งทูตไปสู่ขอบุษบาให้วิหยาสะกำแต่เมื่อท้าวดาหาปฏิเสธท้าวกะหมังกุหนิงจึงสั่งยกทัพมาเมืองดาหาเพื่อจะชิงตัวบุษบา
ท้าวดาหาส่งพระราชสาส์นไปขอความช่วยเหลือจากท้าวกุเรปัน (พี่ชาย) ท้าวกาหลังและท้าวสิงหัดส่าหรี (น้องชาย) และจรกาให้ยกทัพมาช่วยกันรบป้องกันเมืองดาหา
เมื่อท้าวกุเรปันได้รับข่าวแล้วจึงให้ทหารนำจดหมายไปให้อิเหนาที่อยู่เมืองหมันหยา(เมืองจินตหรา) อิเหนาไม่อยากไปแต่กลัวพ่อโกรธเลยต้องไป ในที่สุดอิเหนาก็ยกทัพมากับกะหรัดตะปาตี (พี่ชายคนละแม่) ทำให้ท้าวดาหาดีใจมากเพราะเชื่อมั่นว่าอิเหนาต้องรบชนะแต่ด้วยความที่อิเหนาเคยทำให้ท้าวดาหาโกรธเรื่องปฏิเสธการแต่งงานกับบุษบาจนทำให้เกิดเรื่องขึ้นมาอิเหนาจึงตัดสินใจสู้รบให้ชนะก่อนแล้วค่อยเข้าไปเฝ้าท้าวดาหา
ในที่สุดเมื่อท้าวกะหมังกุหนิงยกทัพมาใกล้ดาหาทำให้เกิดการต่อสู้กับกองทัพของอิเหนา ในที่สุดสังคามาระตาก็เป็นผู้ฆ่าวิหยาสะกำ ส่วนอิเหนาเป็นผู้ฆ่าท้าวกะหมังกุหนิงตายในสนามรบด้วยกริชเทวา
หลังจากนั้นท้าวปาหยันกับท้าวประหมัน (พี่กับน้องของท้าวกะหมังกุหนิง) ก็ยอมอ่อนน้อมต่ออิเหนา อิเหนาจึงอนุญาตให้ระตูนำพระศพของทั้งสองกลับไปทำพิธีตามพระราชประเพณี
วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

เป็นความขัดแย้งในวงกว้าง ครอบคลุมทุกทวีปและประเทศส่วนใหญ่ในโลก เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) และดำเนินไปจนกระทั่งสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) ได้ชื่อว่าเป็นสงครามที่มีขนาดใหญ่และทำให้เกิดความสูญเสียครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก
ต้นเหตุที่แท้จริงของสงครามครั้งนี้ ยังเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันอยู่ ไม่ว่าจะเป็นสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ความเป็นชาตินิยม การแย่งชิงอำนาจและต้องการแบ่งปันโลกใหม่ของประเทศที่เจริญตามมาทีหลังและแสนยนิยม เช่นเดียวกับวันเริ่มต้นสงคราม ที่อาจเป็นไปได้ทั้งวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) ที่เยอรมันรุกรานโปแลนด์, วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) ที่ญี่ปุ่นรุกรานจีน (วันเริ่มต้นสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2) หรือปี พ.ศ. 2474 (ค.ศ. 1931) ที่ญี่ปุ่นรุกรานแมนจูเรีย บางคนกล่าวว่าสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งนี้เป็นข้อพิพาทเดียวกัน แต่แยกกันด้วย "การหยุดยิง"
การต่อสู้มีขึ้นตั้งแต่มหาสมุทรแอตแลนติก ยุโรปตะวันตกและตะวันออก ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แอฟริกา ตะวันออกกลาง มหาสมุทรแปซิฟิก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจีน สงครามในยุโรปสิ้นสุดเมื่อเยอรมนียอมจำนนในวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) แต่ในเอเชียยังดำเนินต่อไปจนกระทั่งญี่ปุ่นยอมจำนนในวันที่ 15 สิงหาคม ปีเดียวกัน คาดว่ามีผู้เสียชีวิตในสงครามครั้งนี้ราว 57 ล้านคน
วันอังคารที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
วันอังคารที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
บันทึกวันนี้
วันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2551
COMPUTER
ลักษณะทางกายภาพของคอมพิวเตอร์นั้นมีหลากหลาย มีทั้งขนาดที่ใหญ่มากจนต้องใช้ห้องทั้งห้องในการบรรจุ และขนาดเล็กจนวางได้บนฝ่ามือ การจัดแบ่งประเภทของคอมพิวเตอร์สามารถจัดแบ่งได้ตามขนาดทางกายภาพเป็นสำคัญ ซึ่งมักจะแปลผันกับประสิทธิภาพความเร็วในการประมวลผล โดยขนาดคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเรียกว่า ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ใช้กับการคำนวณผลทางวิทยาศาสตร์ ขนาดรองลงมาเรียกว่า เมนเฟรม มักใชัในบริษัทขนาดใหญ่ที่ต้องมีการประมวลผลธุรกรรมทางธุรกิจจำนวนมากๆ สำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ใช้ในระดับบุคคลเรียกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่พกพาได้เรียกว่า คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค ส่วนคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สามารถวางบนฝ่ามือได้เรียกว่า พีดีเอ อย่างไรก็ตามคอมพิวเตอร์มีใช้กันอย่างกว้างขวางมาก ซึ่งมีอุปกรณ์หลายๆชนิดได้นำคอมพิวเตอร์ไปใช้เป็นกลไกหลักในการทำงาน เช่น กล้องดิจิทัล เครื่องเล่นเอ็มพีสาม หรือในรถยนต์เองก็มีคอมพิวเตอร์ที่ใช้ช่วยในการตรวจสอบระบบการทำงานของเครื่องยนต์
วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2551
รถยนต์พระที่นั่ง
รถยนต์พระที่นั่งที่ทรงใช้ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล
รถพระที่นั่งทรง ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว องค์ปัจจุบัน มายบัค 62 เลขทะเบียน ร.ย.ล.1
รถพระที่นั่งสำรอง ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว องค์ปัจจุบัน มายบัค 62 เลขทะเบียน 1ด-1992
รถพระที่นั่ง ที่ใช้ในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ คาดิลแลค ดีทีเอส เลขทะเบียน ร.ย.ล.960
มายบัค 62 สีครีม เลขทะเบียน ร.ย.ล.1 ทรงใช้เป็นรถยนต์พระที่นั่งทรงในปัจจุบัน โดยได้จัดซื้อมาใช้ แทนรถยนต์พระที่นั่ง โรลส์-รอยซ์ แฟนทอม ซิกซ์ (VI) ที่ใช้เป็นรถยนต์พระที่นั่งทรงมานานถึง 30 ปี
มายบัค 62 สีครีม เลขทะเบียน 1ด-1992 ทรงใช้เป็นรถยนต์พระที่นั่งสำรองในปัจจุบัน
เมอร์ซิเดส เบนซ์ เอส 600 แอล (รหัสตัวถัง ดับเบิลยู 220) เลขทะเบียน ร.ย.ล.901 ใช้ในราชการประจำพระองค์ในปัจจุบัน
คาดิลแลค ดีทีเอส เลขทะเบียน ร.ย.ล.960 ทรงใช้ในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ โดยรถพระที่นั่งองค์นี้ เป็นรถที่ได้รับการดัดแปลง โดยนำมาตัดหลังคา ให้เป็นรถเปิดประทุน
มายบัค 62 สีน้ำเงิน ตัดด้วยสีทอง เลขทะเบียน 1ด-1991
มายบัค 62 สีน้ำตาล ตัดด้วยสีทอง เลขทะเบียน 1ด-1993
เมอร์ซิเดส เบนซ์ เอส 500 แอล สีครีม (รหัสตัวถัง ดับเบิลยู 221) เลขทะเบียน 1ด-3902
บีเอ็มดับเบิลยู 760 แอลไอ สีทอง (รหัสตัวถัง อี 66) เลขทะเบียน 1ด-1994
ทะเบียนรถ
ทะเบียนรถยนต์ที่ใช้ในพระราชสำนัก ที่กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม น้อมเกล้าฯ ถวายหมวดทะเบียน มีทั้งสิ้น 3 รูปแบบ คือ
ร.ย.ล. เป็นหมวดทะเบียนที่จัดเป็นพิเศษ สำหรับรถยนต์พระราชพาหนะ ที่จัดซื้อด้วยงบประมาณราชการ อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน โดยเป็นหมวดทะเบียนที่ย่อมาจากคำว่า “ราชยานยนต์หลวง”
1ด-xxxx เป็นหมวดทะเบียนทั่วไป ที่น้อมเกล้าฯ ถวาย สำหรับใช้กับรถยนต์พระราชพาหนะ ที่จัดซื้อโดยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ หรือที่พสกนิกรน้อมเกล้าฯ ถวาย
ดส xxxx เป็นหมวดทะเบียนทั่วไป ที่น้อมเกล้าฯ ถวาย สำหรับใช้กับรถยนต์ ที่จัดซื้อโดยพระราชทรัพย์ หรือที่พสกนิกรน้อมเกล้าฯ ถวาย ในส่วนที่โปรดเกล้าฯ พระราชทาน แก่หน่วยราชการต่างๆ ของสำนักราชเลขาธิการ และสำนักพระราชวัง หรือข้าราชบริพารชั้นผู้ใหญ่ ให้นำไปใช้ในการปฏิบัติราชการ โดยเป็นหมวดทะเบียนที่ย่อมาจากชื่อ พระราชวังดุสิต