วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2552

FREE day รึป่าว

วันนี้คุณว่าหรือป่าว ผมไม่ค่อยว่างเลยครับ เลยไม่คอ่ยจะได้ update เลย
ผมอยากให้ทุกคนพักผ่อนบ้าง อย่าห้กโหมมากนัก เดี๋ยวร่างกายจะแย่นะ
GOOG LUCK

วันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2552

diary

ขอโทษนะครับที่ไม่ได้ update blog นาน พอดีว่าเอาคอมไปซ่อม พอเอากลับมาใช้อีกที
ก็ log in ไม่ได้ซะแล้ว ตอนนี้ใช้ได้เหมือนเดิมแล้ว งานอาจจะไม่ครบนะครับ

ENGLISH

การใช้ Wish
ปัจจุบัน wish+past simple(v2)
อดีต wish+past perfect(had+v3)
อนาคต wish+future in the past(would,could+v3)
*wished+had+v3 (only)
ถ้อยคำสำหรับสุภาพชน
การใช้ถ้อยคำสำหรับบุคคลทั่วไปมีข้อควรคำนึง ดังต่อไปนี้
๑. ต้องคำนึงถึงฐานะและความสัมพันธ์ระหว่างผู้ที่ติดต่อกัน
๒. ใช้คำให้เหมาะสมกีบโอกาสและกาลเทศะ
๓. ใช้คำที่แสดงความสุภาพ ก่อให้เกิดความรู้สึกที่ดี เช่น กรุณา ขอโทษ ครับ ค่ะ
๔. ควรหลีกเลี่ยงคำห้วนหรือคำกระด้าง
๕. ใช้คำสรรพนาม เช่น คุณ ท่าน ผม ดิฉัน เธอ โดยใช้ตามวุฒิภาวะ

วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551


ลอยกระทง(LOY GRA-TONG)

วิถีแห่งสายน้ำ วัฒนธรรมแห่งเอเชีย ท่ามกลางแสงจันทร์ในคืนเพ็ญกลางเดือนสิบสอง ซึ่งตรงกับช่วงเดือนพฤศจิกายนแบบนี้ บนสายน้ำที่หลากไหลท่วมท้นทั้งสองฟากฝั่ง แสงเทียนนับร้อยนับพัน วูบวับระริกไหวเคลื่อนไปตามแรงกระแสน้ำ คือภาพอันน่าจำเริญตาของประเพณีที่เจนใจคนไทยมาช้านาน ประเพณีลอยกระทง...คนไทยเริ่มลอยกระทงมาตั้งแต่เมื่อใดยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แม้ครั้งหนึ่งเราจะถูกอบรมบ่มเพาะกันมาแต่เล็กแต่น้อยให้เชื่อว่า โคมลอยน้ำรูปดอกบัวนี้ถูกประดิษฐ์คิดขึ้นโดยยอดหญิงงามนามว่า“ท้าวศรีจุฬาลักษณ์” หรือ “นางนพมาศ” สนมเอกของพระร่วงเจ้าแห่งกรุงสุโขทัย โดยมีเรื่องราวปรากฏอยู่ในวรรณกรรมชื่อ “ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์“แต่ความเชื่อนี้ก็ถูกสั่นคลอนจากนักประวัติศาสตร์ยุคปัจจุบัน ว่าตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์เป็นวรรณกรรมที่ไม่ได้เก่าไปกว่ารัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ดังนั้นลอยกระทงจึงไม่ได้มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ถึงแม้จะทำให้ผู้คนสับสนงงงัน แต่ทฤษฎีใหม่ก็ไม่สามารถลบล้างประเพณีอันดีงามและทรงคุณค่านี้ไปได้ ไม่ว่าจะเริ่มต้นมีมาแต่ครั้งใด ก็ไม่สำคัญเท่ากับว่า ทุกวันนี้คนไทยทุกชนชั้น ทุกอาชีพยังคงลอยกระทงกันอยู่ ทั้งเพื่อบูชารอยพระพุทธบาทที่เชื่อกันว่าประดิษฐานอยู่บนหาดทราย ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที (ปัจจุบันคือแม่น้ำเนรพัททา แคว้นทักขิณาบถ ประเทศอินเดีย) เพื่อบูชาพระเจดีย์จุฬามณี บนสวรรค์ เพื่อขอขมาพระแม่ คงคา หรือเพื่อลอยทุกข์โศกไปกับสายน้ำก็ตาม อันที่จริงใช่เพียงคนไทยเท่านั้นที่มีประเพณีลอยกระทง หากยังมีอีกหลายวัฒนธรรมที่ร่วมลอยกระทงไปกับเราด้วย ... ไม่ไกลจากเรานัก บ้านพี่เมืองน้องของเราอย่างประเทศลาว ก็มีประเพณีการบูชาแม่น้ำด้วยการลอยประทีปและไหลเรือไฟ โดยเชื่อว่าเป็นการบูชาคุณแห่งแม่น้ำโขงที่เลี้ยงดูพวกเขามา และเพื่อบูชาพระพุทธเจ้าซึ่งเสด็จกลับมาจากการเทศนาโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ส่วนในกัมพูชา ระยะนี้เป็นช่วงเทศกาล ออก อัมบก (Ok Ambok) ซึ่งหมายถึงเทศกาลบูชาพระจันทร์ พวกเขาจะทำ ประทีป (pratip) ซึ่งก็คือกระทง แล้วนำไปลอยบูชาพระจันทร์วันเพ็ญที่ฉายเงาสว่างไสวในลำน้ำ เหนือขึ้นไปจากนี้ ไม่ว่าจะเป็นเวียดนาม เกาหลี หรือญี่ปุ่น ก็มีพิธีกรรมในการขอขมาและลอยทุกข์ลงในน้ำเช่นกัน โดยสันนิษฐานกันว่าต้นแบบของความเชื่อนี้มาจากศาสนาพุทธแบบมหายานที่แพร่หลายไปจากจีน แน่นอน....จีนก็ลอยกระทงเหมือนกันกับเราคู่ปรับเก่าของเราอย่างพม่า ก็ยังร่วมลอยกระทงไปพร้อมกัน นอกจากเพื่อบูชาพระพุทธเจ้าแล้ว ชาวพม่ายังลอยกระทงเพื่อบูชาผีนัต (Nut) ซึ่งหมายถึงวิญญาณที่คอยคุ้มครองบรรดาสรรพสิ่งอยู่ทั่วไป เมืองเก่าทางเหนือของประเทศไทยซึ่งรียกกันว่าล้านนา ก็มีประเพณีลอยกระทงเพื่อบูชาแม่น้ำ พิเศษตรงที่ล้านนามีประเพณีบูชาด้วยไฟ โดยการจุดโคมที่เรียกว่า ประเพณียี่เป็ง โดยเชื่อว่าการปล่อยโคมลอยขึ้นไปบนฟ้าคือการบูชาพระเจดีย์จุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และเท่ากับเป็นการปล่อยทุกข์โศกให้ลอยไปพร้อมโคมและแม่แบบของวัฒนธรรมเอเชียอาคเนย์อย่างอินเดีย ก็ยังคงมีการลอยกระทงกันอยู่ โดยเขาอ้างว่าวัฒนธรรมนี้เริ่มต้นที่นี่ เมื่อหลายพันปีก่อน... เริ่มต้นจากความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ที่ว่า เราควรลอยประทีปลงน้ำในคืนเพ็ญกลางเดือนสิบสอง เพื่อบูชาพระนารายณ์ที่บรรทมอยู่กลางเกษียรสมุทร และพระองค์จะทรงนำบาปเคราะห์ของเราลอยล่องไปกับประทีปอันนั้นด้วย ในบ้านเรา... เมื่อคืนเพ็ญกลางเดือนสิบสองเวียนมาถึง ผู้คนก็พร้อมใจกันทำกระทงเป็นโคมลอยรูปดอกบัวอันสดสวยจากวัสดุหลายหลาก ไม่ว่าจะเป็นกระทงแบบประเพณีที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ เข่นใบตอง หยวกกล้วย ประดับประดาดอกไม้สดนานาพันธุ์ หรือช่วงหลังจะสร้างสรรค์กระทงให้แปลกออกไป เช่น กระทงขนมปัง หรือกระทงพลาสติกซึ่งมักกลายเป็นปัญหาวุ่นวายเมื่องานจบทุกครา ในกระทงมีธูปเทียนปักไว้ บ้างมีหมากพลู เงินทองเล็กน้อยใส่ลงไป เชื่อว่าเป็นการบูชาพระแม่คงคาระลึกถึงพระคุณที่ให้เราใช้น้ำในการดำรงชีวิต ได้อาบ ได้กิน และเพื่อเป็นการลอยเคราะห์บาปไปตามสายน้ำ แม้ว่าบ่อยครั้งกระทงน้อยจะลอยไปได้เพียงไม่ไกลก็มีอันต้องล้มคว่ำเพราะมิจฉาชีพที่ “ ปล้นบุญ ” กันหน้าตาเฉยไม่ว่าจะอย่างไรก็ตามประเพณีลอยกระทงก็ยังคงสามารถสะท้อนภาพความผูกพันของคนกับสายน้ำออกมาได้อย่างงดงาม ทั้งยังสื่ออุปนิสัยกตัญญูรู้คุณของผู้คนเหล่านี้ได้อย่างแจ่มชัดที่สุด และจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่าประเพณีลอยกระทงยังคงครองตำแหน่ง ประเพณีที่สุดแสนจะโรแมนติกในใจใครต่อใครอีกหลายคน....

วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

เรื่องย่ออิเหนา ( ตอนศึกกะหมังกุหนิง )
ท้าวกะหมังกุหนิงกับประไหมสุหรีมีโอรสชื่อ วิหยาสะกำ ในคราวที่วิหยาสะกำออกประพาสป่า องค์ปะตาระกาหลาได้แปลงร่างเป็นกวางทองเพื่อล่อวิหยาสะกำมายังต้นไทรที่พระองค์ซ่อนรูปวาดบุษบาไว้ เมื่อวิหยาสะกำเห็นรูปวาดของบุษบาก็หลงรักนางจนคลั่ง ท้าวกะหมังกุหนิงสืบทราบว่านางคือบุษบา ธิดาท้าวดาหาที่ตอนนี้เป็นคู่หมั้นของจรกาแล้ว แต่ด้วยความรักและสงสารลูกจึงส่งทูตไปสู่ขอบุษบาให้วิหยาสะกำแต่เมื่อท้าวดาหาปฏิเสธท้าวกะหมังกุหนิงจึงสั่งยกทัพมาเมืองดาหาเพื่อจะชิงตัวบุษบา
ท้าวดาหาส่งพระราชสาส์นไปขอความช่วยเหลือจากท้าวกุเรปัน (พี่ชาย) ท้าวกาหลังและท้าวสิงหัดส่าหรี (น้องชาย) และจรกาให้ยกทัพมาช่วยกันรบป้องกันเมืองดาหา
เมื่อท้าวกุเรปันได้รับข่าวแล้วจึงให้ทหารนำจดหมายไปให้อิเหนาที่อยู่เมืองหมันหยา(เมืองจินตหรา) อิเหนาไม่อยากไปแต่กลัวพ่อโกรธเลยต้องไป ในที่สุดอิเหนาก็ยกทัพมากับกะหรัดตะปาตี (พี่ชายคนละแม่) ทำให้ท้าวดาหาดีใจมากเพราะเชื่อมั่นว่าอิเหนาต้องรบชนะแต่ด้วยความที่อิเหนาเคยทำให้ท้าวดาหาโกรธเรื่องปฏิเสธการแต่งงานกับบุษบาจนทำให้เกิดเรื่องขึ้นมาอิเหนาจึงตัดสินใจสู้รบให้ชนะก่อนแล้วค่อยเข้าไปเฝ้าท้าวดาหา
ในที่สุดเมื่อท้าวกะหมังกุหนิงยกทัพมาใกล้ดาหาทำให้เกิดการต่อสู้กับกองทัพของอิเหนา ในที่สุดสังคามาระตาก็เป็นผู้ฆ่าวิหยาสะกำ ส่วนอิเหนาเป็นผู้ฆ่าท้าวกะหมังกุหนิงตายในสนามรบด้วยกริชเทวา
หลังจากนั้นท้าวปาหยันกับท้าวประหมัน (พี่กับน้องของท้าวกะหมังกุหนิง) ก็ยอมอ่อนน้อมต่ออิเหนา อิเหนาจึงอนุญาตให้ระตูนำพระศพของทั้งสองกลับไปทำพิธีตามพระราชประเพณี

วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2551


สงครามโลกครั้งที่สอง
เป็นความขัดแย้งในวงกว้าง ครอบคลุมทุกทวีปและประเทศส่วนใหญ่ในโลก เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) และดำเนินไปจนกระทั่งสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) ได้ชื่อว่าเป็นสงครามที่มีขนาดใหญ่และทำให้เกิดความสูญเสียครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก
ต้นเหตุที่แท้จริงของสงครามครั้งนี้ ยังเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันอยู่ ไม่ว่าจะเป็นสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ความเป็นชาตินิยม การแย่งชิงอำนาจและต้องการแบ่งปันโลกใหม่ของประเทศที่เจริญตามมาทีหลังและแสนยนิยม เช่นเดียวกับวันเริ่มต้นสงคราม ที่อาจเป็นไปได้ทั้งวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) ที่เยอรมันรุกรานโปแลนด์, วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) ที่ญี่ปุ่นรุกรานจีน (วันเริ่มต้นสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2) หรือปี พ.ศ. 2474 (ค.ศ. 1931) ที่ญี่ปุ่นรุกรานแมนจูเรีย บางคนกล่าวว่าสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งนี้เป็นข้อพิพาทเดียวกัน แต่แยกกันด้วย "การหยุดยิง"
การต่อสู้มีขึ้นตั้งแต่มหาสมุทรแอตแลนติก ยุโรปตะวันตกและตะวันออก ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แอฟริกา ตะวันออกกลาง มหาสมุทรแปซิฟิก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจีน สงครามในยุโรปสิ้นสุดเมื่อเยอรมนียอมจำนนในวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) แต่ในเอเชียยังดำเนินต่อไปจนกระทั่งญี่ปุ่นยอมจำนนในวันที่ 15 สิงหาคม ปีเดียวกัน คาดว่ามีผู้เสียชีวิตในสงครามครั้งนี้ราว 57 ล้านคน

Powered By Blogger